วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะคำไทยแท้


๑.คำไทยแท้ส่วนมากพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท อุทาน สันธาน ฯลฯ มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุเกิดจาก
      ก. การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น
มะม่วง มากจาก หมากม่วง           ตะคร้อ มาจาก ต้นคร้อ
สะดือ มาจาก สายดือ                มะตูม มาจาก หมากตูม
ตะเข็บ มาจาก ตัวเข็บ                สะเอว มาจาก สายเอว
     ข. การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น
ลูกกระดุม มาจาก ลูกดุม             ผักกระถิน มาจาก ผักถิน
นกกระจอก มาจาก นกจอก          ลูกกระเดือก มาจาก ลูกเดือก
ผักกระเฉด มาจาก ผักเฉด           นกกระจิบ มาจาก นกจิบ
     ค. การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม               เดี๋ยว – ประเดี๋ยว
ท้วง – ประท้วง                      ทำ – กระทำ
โจน – กระโจน

๒.คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมควบกล้ำ และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ๙ล๙

๓.คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว

๔.การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
ใจน้อย – น้อยใจ กลัวไม่จริง – จริงไม่กลัว

๕.คำไทยจะใช้รูป “ ไอ” กับ “ ใอ” จะไม่ใช้รูป “ อัย” เลยและจะไม่ค่อยพบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า เฆี่ยน ศอก ศึก ธ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น


ปัจจัยที่ส่งผลให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ


๑. เนื้อหาข้อมูล ผู้นำเสนอจะต้องจัดเตรียมความพร้อมของเนื้อหา ข้อมูล ดังนี้
๑.๑ จัดข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นลำดับขั้นตอน
๑.๒ จัดทำเค้าโครงการนำเสนอทุกครั้งที่มีการนำเสนอ
๒. ผู้นำเสนอ ผู้นำเสนอที่มีประสิทธิภาพที่ดี ดังนี้
๒.๑ มีความรู้ในเรื่องที่จะนำเสนอเป็นอย่างดี
๒.๒ ศึกษาวิเคราะห์ผู้ฟัง โอกาสและสถานการณ์ก่อนการนำเสนอทุกครั้ง
๒.๓ มีบุคลิกภาพและการวางตัวที่เหมาะสม
๓. การดำเนินการนำเสนอ
๓.๑ เทคนิคและวิธีการนำเสนอ
๓.๑.๑ ใช้วิธีการนำเสนอที่เหมาะสม วิธีการที่ใช้สำหรับการนำเสนอ
ข้อมูลมีให้เลือกหลายวิธีด้วยกัน เช่น การอธิบายเหตุผล การเล่าเหตุการณ์
๓.๑.๒ ใช้อุปกรณ์ช่วยในการนำเสนอ นอกจากใช้วิธีการที่เหมาะสมกับ
การนำเสนอแล้ว ผู้นำเสนอจะต้องพยายามดึงดูดความสนใจ อุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมี ดังนี้
- เอกสารประกอบการนำเสนอ
- แผ่นใน ภาพนิ่ง แผนผัง
๓.๑.๓ ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การพูดเพียงอย่างเดียว อาจทำให้ผู้ฟังรู้สึก
เบื่อหน่าย การกระตุ้นให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการนำเสนอนับเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยดึงความสนใจ
๓.๑.๔ รู้จักใช้จิตวิทยาในการนำเสนอ สำหรับจิตวิทยาในการนำเสนอ
แรงจูงใจ หมายถึง แรงจูงใจที่ชักจูงให้ผู้ฟังสนใจ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น
๓.๑.๕ สรุปทบทวนประเด็นสำคัญ การสรุปเป็นการช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจ
ชัดเจนยิ่งขึ้น
๓.๒ ศิลปะในการนำเสนอ
๓.๒.๑ มีการแสดงมารยาททางสังคม
  - การทักทายที่ประชุมเป็นการให้เกียรติ ที่สำคัญต้องมีความสุภาพ
  - การแนะนำตัว กรณีที่ไม่มีผู้ใดแนะนำตัวที่จะมานำเสนอให้กับผู้ฟังได้
รู้จัก ผู้นำเสนอจะต้องแนะนำชื่อตนเองให้ชัดเจน
๓.๒.๒ มีการใช้ภาษาที่เหมาะสม
   -  ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน
   -  ภาษาที่ใช้ต้องมีเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ผู้พูดต้อง
คำนึงถึงทุกเพศทุกวัย
   - ภาษาที่ใช้ต้องมีความสมเหตุสมผล ฉะนั้นผู้นำเสนอจึงควร
ยกตัวอย่างประกอบเรื่องที่พูดให้ชัดเจน
๓.๓ มีการแสดงออกที่เหมาะสม การนำเสนอถึงแม้จะเนื้อหาสาระดีเพียงใดหาก
มีการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้การนำเสนอนั้นๆ หมดคุณค่าได้
๓.๓.๑ การแสดงออกทางใบหน้า ขณะที่นำเสนอผู้พูดควรแสดงความมี
มนุษยสัมพันธ์กับผู้ฟัง โดยการยิ้มแย้มแจ่มใส
๓.๓.๒ การทรงตัวและการวางท่า ในขณะที่ผู้นำเสนอยืนพูดหรือนั่งพูด
๓.๓.๓ มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ฟัง ความมีมนุษยสัมพันธ์อันดีนับเป็นส่วน
สำคัญในการสร้างมิตรภาพในการสื่อสาร สร้างความคุ้นเคย
๓.๓.๔ มีวิธีการสื่อสารที่ดี วิธีการสื่อสารก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีก
ประการหนึ่งที่มีส่วนกำหนดให้การนำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพในการนำเสนอมี ๒ ลักษณะ คือ
๑. การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดย ฝ่ายผู้รับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้รับอาจไม่เข้าใจข่าวสาร หรือเข้าใจไม่ถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งและทางฝ่ายผู้ส่งเมื่อไม่ทราบปฏิกิริยาของผู้รับจึงไม่อาจปรับการสื่อสารให้เหมาะสมได้ การสื่อสารแบบนี้สามารถทำได้รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับการสื่อสารในเรื่องที่เข้าใจง่าย
ในสถานการณ์ของการสื่อสารบางอย่าง มีความจำเป็นต้องใช้การสื่อสารทางเดียว แม้ว่าเรื่องราวที่สื่อสารจะมีความซับซ้อนก็ตาม เช่น กรณีผู้รับและผู้ส่งไม่อาจพบปะ หรือติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ และการสื่อสารมวลชนซึ่งไม่อาจทราบผู้รับที่แน่นอน
๒. การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)  คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัวอย่างการสื่อสารแบบสองทาง เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดโทรศัพท์ การออกคำสั่งหรือมอบหมายงานโดยฝ่ายรับมีโอกาสแสดงความคิดเห็น การสื่อสารแบบนี้จึงมีโอกาสประสบผลสำเร็จได้มากกว่า แต่ถ้าเรื่องราวที่จะสื่อสารเป็นเรื่องง่าย อาจทำให้เสียเวลาโดยไม่จำเป็น

ในสถานการณ์ของการสื่อสารบางอย่าง เช่น ในการสื่อสารมวลชน ซึ่งโดยปกติมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว นักสื่อสารมวลชนก็มีความพยายามที่จะทำให้มีการสื่อสารสองทางเกิดขึ้น โดยการให้ประชาชนส่งจดหมาย โทรศัพท์ ตอบแบบสอบถาม กลับไปยังองค์กรสื่อมวลชน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการสื่อสารให้บรรลุผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การเตรียมการนำเสนอ

การเตรียมการนำเสนอ
การนำเสนอเรื่องในลักษณะใดก็ตามถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายหรือไม่เป็นไปดังที่ตั้งจุดหมายไว้ ฉะนั้นถ้าต้องการให้การนำเสนอข้อมูลเป็นไปด้วยความราบรื่นและบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ ผู้นำเสนอควรจะต้องเตรียมการให้พร้อมก่อนที่จะนำเสนอทุกครั้ง การเตรียมการเพื่อนำเสนอข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้
๑. การศึกษาข้อมูล
ผู้ที่จะนำเสนอจะต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
๑.๑ ศึกษาเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่จะนำเสนอให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
๑.๒ ศึกษาวิเคราะห์ผู้รับการนำเสนอหรือผู้ฟัง เพื่อที่จะได้วางแผนการใช้เทคนิคและวิธีการนำเสนอ
๑.๓ ศึกษาวิเคราะห์นำเสนอ ตลอดจนการใช้ถ้อยคำภาษาที่เหมาะสม
๑.๓ ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมายที่จะนำไปเสนอเพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับผู้รับ      การนำเสนอ
๑.๔ ศึกษาโอกาส เวลา และสถานที่ ที่จะนำเสนอเพื่อจะได้กำหนดเค้าโครงและเนื้อหาพร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำเสนอ
๒. การวางแผนการนำเสนอ  จะช่วยให้การนำเสนอเป็นไปตามลำดับข้อมูลไม่สับสน ครบถ้วนสมบูรณ์ เหมาะสมกับเวลา การนำเสนอที่บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ควรมีการวางแผนที่จะนำเสนอดังนี้
          ๒.๑ รูปแบบวิธีการนำเสนอ โดยมีหลักในการวางรูปแบบวิธีการนำเสนอแบ่งกว้างๆ     ได้เป็น ๒ แบบ คือ
๑. การนำเสนอแบบที่เป็นทางการ  เช่น การนำเสนอแบบรูปแบบปาฐกถา    
การอภิปราย การบรรยายพิเศษต่าง ๆ
๒. การนำเสนอแบบที่ไม่เป็นทางการ
๒.๒ วางแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคในการนำเสนออาจจะเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ กรณี  ถ้าเราคาดเดาปัญหาไว้ก่อนล่วงหน้าโดยการศึกษาข้อมูลก่อนที่จะนำเสนอให้ถ่องแท้ก็สามารถช่วยให้มองแนวทางในการแก้ปัญหาได้
๒.๓ วางเค้าโครงการนำเสนอ ทำได้โดยการนำหัวข้อที่จะนำเสนอมาแบ่งหมวดหมู่เรียงตามลำดับ แล้วเขียนเป็นลำดับขั้นคอนของแผนการนำเสนอ
๒.๔ วางแนวทางในการนำเสนอ เป็นการกำหนดแนวทางที่จะใช้ในการนำเสนอจัดทำหลังจากที่ได้วางเค้าโครงแล้ว การวางแนวทางในการเสนอจะช่วยให้ผู้นำเสนอเกิดความพร้อม ดังนี้
๑. กำหนดวิธีการนำเสนอ
๒. กำหนดสถานที่ที่พร้อมและเหมาะสมในการนำเสนอ
๓. กำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบการนำเสนอ
๔. กำหนดบุคคลผู้เกี่ยวข้อง
๕. กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอ
๒.๕ วางกำหนดขั้นตอนการนำเสนอ เมื่อได้วางแนวทางการนำเสนอขั้นต่างๆ มาแล้ว ขั้นสุดท้ายก็จะต้องกำหนดขั้นตอนการนำเสนอให้สัมพันธ์กับวิธีการ
๓. การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ การบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่อาจดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ตลอดเวลา ฉะนั้นจึงต้องใช้วัสดุหรือเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ เข้ามาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจแต่ที่นิยมใช้กันมี ดังนี้
๓.๑ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการบรรยาย
๑. เครื่องฉายแผ่นใส หรือเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
๒. วีดิทัศน์ PowerPoint ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง แผ่นใส
๓. แบบจำลอง
๓.๒ อุปกรณ์ที่ใช้เสริมการบรรยาย
๑. แผ่นพับ
๒. หนังสือ
๓. รูปภาพ
๔. เอกสารประกอบ
๔. การจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ ในการนำเสนอนอกจากจะต้องตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบการนำเสนอแล้ว การเตรียมความพร้อมของสถานที่ก็มีส่วนสำคัญ   ที่จะทำให้การนำเสนอเป็นไปได้ด้วยดี
๔.๑ การจัดห้องสำหรับการนำเสนอ ควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ฟังเช่น ห้องประชุมขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดใหญ่
๔.๒ การจัดที่นั่งและแท่นสำหรับการนำเสนอ จะต้องเตรียมให้พร้อม
๑. แท่นสำหรับบรรยายใช้ในกรณีที่ยืนพูด
๒. โต๊ะสำหรับบรรยายใช้กรณีที่นั่งพูด
๓. โต๊ะวางอุปกรณ์ช่วยประกอบการบรรยาย
๔.๓ ระบบระบายอากาศ จะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

๔.๔ ระบบเสียง ควรมีการทดสอบก่อนการใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ดี มีความดังชัดเจน
๔.๕ ระบบแสงสว่างภายในห้อง จะต้องให้เหมาะสมกับสายตาของผู้ฟัง พอเหมาะกับ  การใช้งาน

๔.๖ การประดับตกแต่งสถานที่ การใช้สิ่งประดับตกแต่งห้องหรือบริเวณที่จะใช้ใน     การนำเสนอทั้งสิ้น สิ่งที่นำมาตกแต่ง

ประเภทของการนำเสนอข้อมูล

ในระบบการทำงานปัจจุบันนี้ การนำเสนอด้วยวาจามีความจำเป็นและเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดมุ่งหมายและพัฒนางานได้รวดเร็วขึ้น การนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้ และมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งและหน้าที่  การงานที่รับผิดชอบของผู้นำไปใช้ ประเภทของการนำเสนอแบ่งอย่างกว้าง ๆ มี ๒ รูปแบบ ดังนี้
๑. การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรับทราบข้อมูลในการนำเสนอ
๒. การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ เป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมฟังการนำเสนอได้ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามเพิ่มเติมหรือแสดงความคิดเห็นได้อีกด้วย

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ
ในการนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะ  แตกต่างกันมาร่วมนำเสนอด้วยกันได้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่
๑.ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวเป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๒.ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิดอาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นมีลักษณะ ต่าง ๆ กัน ดังนี้
๒.๑ ข้อคิดเห็นเชิงเหตุผล เป็นข้อคิดเห็นที่อ้างถึงเหตุผล อ้างถึงข้อเปรียบเทียบที่
เชื่อถือได้ และความมีเหตุผลต่อกัน โดยชี้ให้ผู้ฟังเห็นว่า ควรทำอย่างนี้เพราะเหตุเช่นนี้ แต่ถ้าไม่ทำอย่างที่กล่าวก็จะมีผลตามมาเป็นอย่างไร โดยทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลของผู้แสดงความคิดเห็นเท่านั้น
๒.๒ ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำ เป็นข้อคิดเห็นที่บอกกล่าวให้ผู้รับฟังทราบว่าสิ่งใด 
ควรปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติและไม่ปฏิบัติจะเป็นอย่างไร บางครั้งอาจมีการแนะนำวิธีการปฏิบัติควบคู่กันไปด้วยก็ได้
๒.๓ ข้อคิดเห็นเชิงวิจารณ์ เป็นข้อคิดเห็นที่กล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยการ
เปรียบเทียบระหว่างส่วนดีกับส่วนบกพร่องหรือข้อดีข้อเสียหรือค้นหาข้อบกพร่องจากเรื่องนั้น ๆ แล้วนำมาเสนอแนะในแง่มุมที่ดีกว่าหรือควรนำมาปรับปรุงใหม่

ความหมายและความสำคัญของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็นหรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

ความสำคัญของการนำเสนอ
ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่าง ๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับ การประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่าง ๆ และเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตน หรือขององค์กรและหน่วยต่าง ๆ
กล่าวโดยสรุปการนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยใน  การตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจน เผยแพร่ความก้าวหน้าของงาน  ต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ

จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
๑. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
๒. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
๓. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ
๔. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง











วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิต
ความหมาย
เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย จึงจะสำเร็จประโยชน์ มีความเจริญรุ่งเรือง คนจะพัฒนาได้ง่ายต้องเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก
เป็นคนเรียนความรู้
เกิดเป็นคนต้องศึกษาหาความรู้ไว้อยู่กับตัวเสมอ เพราะความรู้ ช่วยเราได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าในยามปกติหรือคับขัน 
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง
สร้างมิตรภาพกับผู้อื่นอยู่เสมอ 
สร้างกุศลอย่ารู้โรย
การสร้างบุญ สร้างกุศล ช่วยทำให้กิเลสถูกขัดเกลาเบาบางลง คนมีกิเลสน้อย ชีวิตจะมีแต่ความสุข ความร่มเย็น
โอบอ้อมเอาใจคน
ให้มีเมตตาต่อคนทั้งหลาย ไม่เฉพาะแก่พี่น้องเท่านั้น
ปลูกไมตรีทั่วชน
หมั่นผูกไมตรีกับคนทุกคน มีมิตรดีกว่ามีศัตรู
ตระกูลตนจงคำนับ
ให้ความเคารพวงศ์ตระกูล
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน
อย่าทำตัวเก่งกว่าเพื่อน
เป็นคนอย่าทำใหญ่
อย่าอวดเบ่งคุยโตหรือมีอิทธิพลเหนือใครต่อใคร
อย่าเบียดเสียดแก่มิตร
ไม่ควรเบียดเบียนหรือเอาเปรียบเพื่อน ควรให้ความรักความจริงใจกับเพื่อน
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ
สิ่งใดที่เพื่อนทำผิดก็ช่วยบอกกล่าวตักเตือน
ที่ชอบช่วยยกยอ
สิ่งใดที่เพื่อนทำดีอยู่แล้วก็ควรยกย่องชมเชย
อย่าขอของรักมิตร ชอบชิดมักจางจาก
ไม่ควรสร้างความลำบากใจให้กับเพื่อน เช่น การขอในสิ่งที่เพื่อนรักและหวงโดยไม่เกรงใจอาจทำให้เสียเพื่อนไปก็ได้
ยอมิตรเมื่อลับหลัง
การชมมิตรเมื่อลับหลังเป็นการชมอย่างจริงใจ
อย่าประกอบกิจเป็นพาล
อย่าประกอบอาชีพที่ทุจริต
พึงผันเผื่อต่อญาติ
ให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ญาติพี่น้อง
พรรคพวกพึงทำนุก ปลุกเอาแรงทั่วชน ยลเยี่ยงไก่นกกระทา พาลูกหลานมากิน 
คนที่เป็นพวกกับเรา เราควรเลี้ยงดูเขาให้มีความสุข เพราะเขาอาจสามารถช่วยเหลือเราได้ ให้ดูตัวอย่างไก่หรือนกกระทาที่หาอาหารมาได้ก็เผื่อแผ่ลูกๆ คนเราก็เช่นกัน เมื่อมีลาภหรือของกินของใช้ ควรเรียกลูกหลาน มิตรสหาย
อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน
อย่าเห็นของมีประโยชน์น้อยดีกว่าของมีประโยชน์มาก
อย่าตื่นยกยอตน
ไม่ควรพูดยกยอตนเอง
อย่าชังครูชังมิตร
อย่าเกลียดครูผู้เป็นกัลยาณมิตร
อย่าผูกมิตรคนจร
อย่าคบหากับคนเร่ร่อนพเนจร ไม่มีหัวนอนปลายเท้า
เมตตาตอบต่อมิตร
ควรมีความรักความจริงใจตอบต่อเพื่อน
คนขำอย่าร่วมรัก
ไม่ควรคบหาสมาคมกับคนมีลับลมคมในหรือคนเจ้าเล่ห์
คนทรยศอย่าเชื่อ อย่าเผื่อแผ่ความคิด
ไม่ควรให้ความเคารพเชื่อถือคนชั่ว และไม่ควรโยนความผิดให้กับผู้อื่น
สุวานขบอย่าขบตอบ
ไม่ควรยุ่งเกี่ยวหรือต่อล้อต่อเถียงกับคนชั่ว
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
ให้มีความรอบคอบเมื่อจะปฏิบัติภารกิจอะไรควรนำเครื่องมือเครื่องใช้ให้ครบครัน
หน้าศึกอย่านอนใจ
ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเสมอ
เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว
ไม่ควรไปไหนมาไหนโดยลำพังเพราะภัยอันตรายอยู่รอบด้าน
ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก
อย่าได้ขาดเครื่องป้องกันยามเข้าไปอยู่ในสถานที่ลำบากหรือที่ ที่มีภัย
ทำรั้วเรือกไว้กับตน
จงหมั่นทำความดีไว้เสมอเพื่อเป็นเครื่องกำบังตน
จงเร่งระมัดฟืนไฟ
ให้รู้จักระมัดระวังในการใช้ฟืนไฟอาจจะเกิดอันตรายได้
ที่ทับจงมีไฟ
ที่อยู่อาศัยควรมีไฟยามค่ำคืน
ที่ไปจงมีเพื่อน ทางแถวเถื่อนไคลคลา
ไปไหนมาไหนควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย ยามอันตรายจะได้ช่วยเหลือกัน
เข้าออกอย่าวางใจ ระวังระไวหน้าหลัง เยียวผู้ชังจะคอยโทษ
ต้องรู้จักระมัดระวังตัวในการเดินทางไปไหนมาไหน ไม่ควร ประมาทเพราะอาจจะมีคนคอยปองร้ายเราได้
ข้างตนไว้อาวุธ สรรพยุทธอย่าวางจิต
ภัยอันตรายมีได้ทุกเมื่อ ควรรู้จักตระเตรียมตัวป้องกันเอาไว้ก่อน
ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน
อย่าแสดงความโกรธต่อคนรับใช้หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
ภักดีอย่าด่วนเคียด
 ให้เป็นคนที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี อย่าหุนหันตัดใจ
อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์
อย่าเป็นคนโมโหอยู่ตลอดเวลา
อย่ามีปากว่าคน
ไม่ควรนินทาหรือว่าคนอื่นให้ได้รับความเสียหาย
พบศัตรูปากปราศรัย
ความในอย่าไขเขา ควรพูดจาปกติแม้ว่าจะเป็นศัตรูกัน แต่ไม่ควรเผยความในใจ ให้เขารู้
เจรจาตามคดี
ควรพูดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพราะความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
อย่าขุดคนด้วยปาก
ไม่ควรพูดค่อนขอดหรือกล่าวหาว่าร้ายใคร
อย่าจับลิ้นแก่คน
อย่าคอยจับผิดคำพูดผู้อื่น
เมื่อพาทีพึงตอบ
ควรพูดเมื่อจำเป็นต้องพูด
อย่าริกล่าวคำคด
อย่าพูดโกหก ให้พูดแต่ความจริง
โต้ตอบอย่าเสียคำ
ในการสนทนาหรือโต้คารมไม่ควรกล่าวคำพูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
คิดแล้วจึงเจรจา
ควรคิดให้ดีก่อนพูด
อย่านินทาผู้อื่น
ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น หรือกล่าวคำให้ผู้อื่นเสียหาย
อย่าจับลิ้นแก่คน
อย่าคอยจับผิดคำพูดผู้อื่น
โต้ตอบอย่าเสียคำ
ในการสนทนาหรือโต้คารมไม่ควรกล่าวคำพูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
คิดแล้วจึงเจรจา
ควรคิดให้ดีก่อนพูด
อย่านินทาผู้อื่น
ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น หรือกล่าวคำให้ผู้อื่นเสียหาย
อย่านั่งชิดผู้ใหญ่
ให้รู้จักที่ต่ำที่สูง อย่าตีตนเสมอท่าน
อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่
ไม่ควรขัดแย้งหรืองัดข้อหรือแสดงอำนาจกับผู้ใหญ่หรือผู้ที่ มีอำนาจมากกว่าเพราะอาจจะมีภัย
จงนบนอบผู้ใหญ่
ต้องมีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ 
ควรจำคำที่ผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนมาใช้ปฏิบัติเพราะจะเป็นประโยชน์กับตนภายหลัง
ครูบาสอนอย่าโกรธ
เมื่อครูอบรมสั่งสอนไม่ควรโกรธเพราะครูเป็นผู้ที่มีความปรารถนาที่ดีต่อศิษย์
ท่านไท้อย่าหมายโทษ
อย่าจับผิดผู้ใหญ่
นอบตนต่อผู้เฒ่า 
มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก
ต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยามแก่เฒ่าหรือขณะท่านมีความยากลำบาก
อย่าเลียนครูเตือนด่า
อย่านำพฤติกรรมของครูขณะอบรมสั่งสอนเรามาล้อเลียน
ท่านสอนอย่าสอนตอบ
เมื่อผู้ใหญ่ตักเตือนสั่งสอนควรตั้งใจฟังด้วยความเคารพ ไม่กล่าวคำยอกย้อนต่อผู้ใหญ่
ท่านรักตนจงรักตอบ 
เมื่อผู้ใหญ่มีความปรารถนาดีต่อเราเราควรแสดงความกตัญญู ต่อท่าน
ท่านนอบตนจงนอบแทน
ผู้ที่อ่อนน้อมต่อเราเราควรอ่อนน้อมตอบ
ให้หาสินเมื่อใหญ่
เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต้องรู้จักทำงานประกอบอาชีพมาเลี้ยงตนและครอบครัว
อย่าริร่านแก่ความ
อย่าด่วนหาเรื่อง
ประพฤติตามบูรพระบอบ
ประพฤติตนตามขนบธรรมเนียมระเบียบประเพณีที่กำหนด
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์
อย่าทะเยอทะยานเกินความสามารถของตน
เข็นเรือทอดกลางถนน
เตือนไม่ให้ทำอะไรผิดปกติวิสัยหรือผิดกาลเทศะ
หว่านพืชจักเอาผล เลี้ยงคนจักกินแรง
ทำอะไรไม่ควรหวังผลประโยชน์
อย่าใฝ่ตนให้เกิน
อย่าทำตัวเกินฐานะของตน
ตนเป็นไทอย่าคบทาส
เมื่อพ้นสภาพจากการเป็นทาสแล้วไม่ควรมาคบกับทาสอีก
มีสินอย่าอวดมั่ง
อย่าอวดความมั่งมีทรัพย์สินเงินทองเพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้
รักตนกว่ารักทรัพย์
ให้รักเกียรติ นักชื่อเสียงวงศ์ตระกูลยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทอง
สู้เสียสินกว่าเสียศักดิ์
เกียรติยศ ชื่อเสียง เป็นสิ่งที่หามาได้ยากลำบาก เมื่อมีแล้วก็ควรรักษาให้ดี ถ้าเสียไปคงหามาใหม่ได้ยาก ผิดกับทรัพย์สินเงินทองเมื่อเสียไปแล้วหาใหม่มาทดแทนได้
คิดตรองตรึกทุกเมื่อ
ควรคิดไตร่ตรองใคร่ครวญให้ดีก่อนก่อนที่จะทำอะไร
เยียวสะเทินจะอดสู
ทำสิ่งใดขาดๆ เกินๆ ก้ำกึ่งจะเป็นที่อับอาย
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน
ควรทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ควรหวังพึ่งผู้อื่นในการเลี้ยงตน
ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน
ยามไปธุระปะปังที่ไหนไม่ควรนั่งนานเพราะจะทำให้เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
ที่รักอย่าดูถูก
ควรให้ความรักความเกรงใจแม้คนใกล้ชิดสนิทสนมไม่ควรมองข้าม
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
ในขณะที่เหตุการณ์รุนแรงยังดำเนินอยู่อย่างร้อนรนเราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ
ถ้าถูกคุกคามจากผู้มีอำนาจให้หลบหลีกไม่ควรต่อสู้
เข้าออกอย่าวางใจ ระวังระไวหน้าหลัง เยียวผู้ชังจะคอยโทษ
ต้องรู้จักระมัดระวังตัวในการเดินทางไปไหนมาไหน ไม่ควร ประมาทเพราะอาจมีคนคอยปองร้ายเราได้
ข้างตนไว้อาวุธ สรรพยุทธอย่าวางจิต
ภัยอันตรายมีได้ทุกเมื่อ ควรรู้จักตระเตรียมตัวป้องกันเอาไว้ก่อน
ความแหนให้ประหยัด
สิ่งที่รักและหวงแหนก็ให้ระมักระวังรักษาไว้ให้ดี โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นความลับก็ควรรักษาไว้ให้ดี โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นความลับก็ควรรักษาไว้อย่าแพร่งพราย
เผ่ากษัตริย์เพลิงงู
ไม่ควรไว้ใจในสิ่งต้องห้าม ห้าประการคือ กษัตริย์ เด็ก ผู้หญิง งูและไฟ เพราะอาจนำความเดือดร้อนมาสู่เราได
อย่าตีงูให้แก่กา
อย่าทำสิ่งไร้ประโยชน์อาจเกิดโทษแก่ตนได้
อย่าตีปลาหน้าไซ
อย่าขัดขวางผลประโยชน์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
อย่าดีสุนัขห้ามเห่า
อย่าทำสิ่งที่สวนทางกับธรรมชาติ หรืออย่าขัดขวางผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของตน
อย่าเข้าแบกงาช้าง
อย่าทำการใดเสี่ยงอันตรายและไม่เกิดประโยชน์แก่ตน
อย่าโดยคำคนพลอด
อย่าเชื่อคำพูดอันหวานหู
อย่ามัวเมาเนืองนิตย์
อย่าหลงใหลในสิ่งไร้สาระตลอดเวลา
อย่าได้รับของเข็ญ
อย่ารับของร้อนหรือของโจร
โทษตนผิดพึงรู้
สอนให้พิจารณาตนเอง ให้หาความผิดของตน เมื่อพบแล้วให้หาหนทางแก้ไขเสีย
การเรือนตนเร่งคิด
ควรปฏิบัติงานบ้านงานเรือนอยู่เสมออย่าให้บกพร่อง
โทษตนผิดรำพึง อย่าคะนึงถึงโทษท่าน
ให้มองเห็นโทษของการทำความผิดหรือความชั่วไม่ควรไป เสียเวลาจับผิดคนอื่น
เห็นงามตาอย่าปอง
สิ่งที่มองเห็นว่าสวยงาม อย่าเพิ่งหมายปองเพราะของสวยงามมักมาพร้อมกับภัยอันตราย
อย่าตื่นยกยอตน
ไม่ควรพูดยกยอตนเองเปรียบเทียบเหมือนกลองจะดังต้องมีคนตี ถ้ากลองดังโดยไม่มีคนตีเรียกว่ากลองจัญไร
ของฝากท่านอย่ารับ
อย่ามักง่ายหรือเห็นแก่ได้
อย่ากอรปจิตริษยา
ไม่ควรริษยาผู้อื่นเพราะการริษยาเป็นบ่อนทำลายสามัคคี