วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะคำไทยแท้


๑.คำไทยแท้ส่วนมากพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท อุทาน สันธาน ฯลฯ มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุเกิดจาก
      ก. การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น
มะม่วง มากจาก หมากม่วง           ตะคร้อ มาจาก ต้นคร้อ
สะดือ มาจาก สายดือ                มะตูม มาจาก หมากตูม
ตะเข็บ มาจาก ตัวเข็บ                สะเอว มาจาก สายเอว
     ข. การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น
ลูกกระดุม มาจาก ลูกดุม             ผักกระถิน มาจาก ผักถิน
นกกระจอก มาจาก นกจอก          ลูกกระเดือก มาจาก ลูกเดือก
ผักกระเฉด มาจาก ผักเฉด           นกกระจิบ มาจาก นกจิบ
     ค. การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม               เดี๋ยว – ประเดี๋ยว
ท้วง – ประท้วง                      ทำ – กระทำ
โจน – กระโจน

๒.คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมควบกล้ำ และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ๙ล๙

๓.คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว

๔.การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
ใจน้อย – น้อยใจ กลัวไม่จริง – จริงไม่กลัว

๕.คำไทยจะใช้รูป “ ไอ” กับ “ ใอ” จะไม่ใช้รูป “ อัย” เลยและจะไม่ค่อยพบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า เฆี่ยน ศอก ศึก ธ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น