คำประกอบด้วยเสียงที่มีความหมายซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อสารทั้งระหว่างบุคคล
ในกลุ่ม ในที่สาธารณะ ตลอดจนทางสื่อมวลชนคำหลายๆ คำที่เรียบเรียงไว้ตายตัว
สลับที่หรือตัดทอนไม่ได้มีความหมายไม่ตรงไปตรงมาแต่เป็นที่เข้าใจกัน
บางทีมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกินใจ ทำให้เห็นภาพชัด เรียกว่า
สำนวนการรู้จักใช้คำและสำนวนช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิผล
ยิ่งรู้จักคำและสำนวนมากเพียงใด โอกาสที่จะเลือกใช้คำและสำนวนได้ดี
ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น
ถ้าไม่สามารถเลือกใช้คำและสำนวนให้สื่อความหมายได้ตรงย่อมไม่อาจสื่อสารได้สัมฤทธิผล
อาจเสียโอกาสที่จะแสดงความคิดของตนให้กระชับ ชัดเจน รวดเร็ว และมีชีวิตชีวา
ความหมายของคำในภาษาไทยมี
2 ลักษณะ คือ
1.
ความหมายนัยตรง คำที่มีความหมายตรงตัว
เช่น
ดาว หมายถึง สิ่งที่เห็นเป็นดวงบนท้องฟ้าเวลามืด
เก้าอี้ หมายถึง ที่สำหรับนั่ง มีขา
เพชร หมายถึง
ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีน้ำแวววาวกว่าพลอยอื่น ๆ
นกขมิ้น หมายถึง
ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี
กา หมายถึง ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวสีดำ ร้อง กา ๆ
ตัวอย่างประโยคความหมายนัยตรง
-
คืนนี้มีดาวเต็มฟ้าเลย
- คุณแม่ชอบเพชรเม็ดนี้มาก
-
เขาไปซื้อดอกไม้ที่ปากคลองตลาดมา
2.
ความหมายนัยประหวัด คือ
ความหมายที่แฝงอยู่ในคำหรือข้อความนั้นๆ ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ
กันไปอาจเป็นทางดี หรือไม่ดีก็ได้
ดาว หมายถึง บุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง
เพชร หมายถึง บุคคลที่มีคุณค่า
นกขมิ้น หมายถึง
คนเร่ร่อน ไม่มีที่พำนักเป็นหลักแหล่ง
กา หมายถึง ความต่ำต้อย
ตัวอย่างประโยคความหมายนัยประหวัด
-
เสื้อของเธอนี่เป็นเสื้อโหลรึเปล่า
- เธอนี่เป็นคนซื่อจริงๆ
- เขารัดรวบเก่งมากเลย
- คนคนนี้เป็นคนทำอะไร
ต้องวางแผนก่อน
คำไวพจน์
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งมีมากหลากหลายคำ บางครั้ง คำไวพจน์ก็มีชื่อเรียกไปตามความเข้าใจว่าเป็น
“การหลากคำ” บ้าง “คำพ้องความหมาย” บ้าง “คำพ้องความ” บ้าง
ตัวอย่างคำไวพจน์
ความหมาย
|
คำไวพจน์
|
พระพุทธเจ้า
|
พระพุทธองค์
พุทธองค์ บรมครู
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไตรรัตน์
ตถาคต ชิน อรหัง ตรีโลกนาถ โลกวิทู โลกเชษฐ์
โลกนาถ เมตไตรย
วินายก ธรรมสามี ตรีภพนาถ
วรัญญู สรรเพชุดา
ทศพล พระภควันต์ พระชินสี ธรรมสามิสร
ธรรมราชา พิชิตมาร
พรหมกาย มุนินทร์ มารชิต
|
กษัตริย์
|
กษัตรา ขัตติยะ ขัตติยา บดี บดินทร์ บพิตร นฤบดี ภูวไนย ภูมินทร์ราชา นฤบาล นฤเบศร์ นฤบดี นฤบดินทร์ นราธิป มหิดลบพิตร พระเจ้าอยู่หัว บดี ภูมิบดี มหิบดีไท้ ไท นรินทร์ นเรนทร์ กษัตราธิราช พระมหากษัตริย์ มหิบาล นเรศ นเรศวร นเรนทรสูร นโรดม ธเรศ จักรพรรดิ ราชา ราชาธิราช ราชอดิศร ภูวนาถ ภูมินทร์ ภูวไนย ภูมินาถ นริศ ธรณินทร์ อธิราช จักรี จักริน พระประมุข กษิตร พระราชาธิราช นโรดม มเหศ มเหศวร นเรนทร์ |
พระอินทร์
|
อมรินทร์
มัฆวาน สักกะ
สหัสนัยน์ เพชรปาณี
โกสีย์
|
พระพรหม
|
จัตุพักตร์
กมลาสน์ ปิตามหะ
|
พระอิศวร
|
ศิวะ
ศุลี มหาเทพ สยมภู
|
พระวิษณุ
|
พระนารายณ์
กฤษณะ ไวกูณฐ์ ไตรวิกรม
จักรปาณี
|
พระสุรัสวดี
|
สาวิตรี
ภารตี สรัสวติ
|
พระอุมาเทวี
|
นางปาราวตี
พระจัณฑิกา พระชคินมาตา
|
พ่อ
|
บิดา
ชนก บิดร
ปิตุรงค์
|
แม่
|
มารดา มารดร ชนนี มาตุ มาตา
|
นักปราชญ์
|
ธีระ
เธียร บัณฑิต
ปราชญ์ เมธี
|
ลูกชาย
|
บุตร โอรส ดนัย
|
ลูกสาว
|
บุตรี
สุดา
|
เมือง
|
นคร
ธานี บุรี
กรุง นคเรศ พารา นครา
|
แผ่นดิน
|
พสุธา
พิภพ ปฐพี ปฐวี ปัถพี หล้า ธาตรี ธรา ไผท ธรณี ภูมิ
|
น้ำ/แม่น้ำ
|
อาโป
คงคา วาริน
ชลธี ชลธาร ธารา วารี ชล อุทก ชล ชลาลัย ชโลทร ชลาศัย นที ชลธาร สาคร สมุทร อรรณพ
มหรรณพ อัมพุ
|
ลม
|
วาโย
พาย วายุ
|
ไฟ
|
เพลิง
อัคคี กูณฑ์ เตโช
|
ภูเขา
|
บรรพต
คีรี สิงขร ภูผา ภู ไศล
ศิขริน พนม
|
สำนวน
ลักษณะของสำนวนไทย
ถ้อยคำภาษาไทยมี ๒ ประเภท คือ
ความหมายโดยอรรถ หมายถึง ถ้อยคำทีแปลอย่างตรงไปตรงมา และอีกประเภทหนึ่งคือ
ความหมายโดยนัย หมายถึง ถ้อยคำที่แปลไม่ตรงกับศัพท์ มีความหมายแอบแฝง
มีลักษณะอุปมาหรือเปรียบเปรย หรือมีความหมายเปลี่ยนไปตามคำที่มาประกอบ เช่น
คำ
|
ความหมายโดยอรรถ
|
ความหมายโดยนัย
|
ขุดคุ้ย
|
ขุดหรือคุ้ยเอาดิน
หรือสิ่งของในดินขึ้นมา
|
ขุดเอาเรื่องเก่ามาพูดหรือมาเขียนใหม่
|
กลืนน้ำลาย
|
การกลืนน้ำลายลงไปในลำคอ
|
การไม่รักษาคำพูด
|
สาเหตุการเกิดสำนวนไทย
๑. เกิดจากธรรมชาติ
เช่น ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ตื่นแต่ไก่โห่
๒. เกิดจากการกระทำ
เช่น กำปั้นทุบดิน แกว่งเท้าหาเสี้ยน
๓. เกิดจากศาสนา
เช่น ผ้าเหลืองร้อน ตักบาตรถามพระ
คว่ำบาตร
๔. เกิดจากนิทาน
ตำนาน นิยาย พงศาวดาร เช่น กระต่ายตื่นตูม กบเลือกนาย ไก่ได้พลอย กิ้งก่าได้ทอง
๕. เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อต่างๆ
เช่น ผีเจาะปาก กงเกวียนกำเกวียน
๖. เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น เอามือซุกหีบ
น้ำเชี่ยวขวางเรือ
๗. เกิดจากความประพฤติ
เช่น ตำข้าวสารกรอกหม้อ ชักใบให้เรือเสีย
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
๘. เกิดจากการเล่นต่างๆหรือกีฬา
เช่น จับแพะชนแกะ ไม่ดูตาม้าตาเรือ
๙. เกิดจากอวัยวะ
เช่น ปากบอน กำปั้นทุบดิน
ถ้อยคำสำนวนแต่ละประเภท
๑.สำนวน คือถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้ตายตัวจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เป็นถ้อยคำที่เข้าใจกันอย่างแพร่หลายมีความหมายไม่ตรงตัว
เป็นถ้อยคำที่มีความหมายอื่นแฝงอยู่ มีความหมายในเชิงเปรียบเปรยแทบทั้งสิ้น
และเป็นคำพูดสั้นๆกะทัดรัดแต่มีความหมายกว้าง สำนวนอาจเป็นประโยคหรือกลุ่มคำก็ได้ เช่น เป็นประโยคได้แก่ นกมีหูหนูมีปีก
น้ำลดมดกินปลา จระเข้ขวางคลอง เป็นกลุ่มคำได้แก่
คงเส้นคงวา แฉโพย คมในฝัก
จนแต้ม ฯลฯ
๒. คำพังเพย คือ
ถ้อยคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เข้ากับเรื่องที่พูดอยู่ มีความหมายเป็นคติสอนใจ คำพังเพยมีลักษณะคล้ายสุภาษิตมาก
อาจมีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือการติชม การที่คำพังเพยยังไม่นับเป็นสุภาษิต
เพราะยังไม่มีข้อยุติว่า คำพังเพยเหล่านั้นเป็นหลักความจริงที่แน่นอน
หรือเป็นคำสอนที่แท้จริง ตัวอย่างคำพังเพย เช่น กบเลือกนาย กล้านักมักบิ่น ชาดไม่ดีทาสีไม่แดง ฟื้นฝอยหาตะเข็บ ไม้งามกระรอกเจาะ หนีเสือปะจระเข้ หักด้ามพร้าด้วยเข่า ฯลฯ (บางตำราอาจไม่มีการแยกระหว่างสำนวนและคำพังเพย
เพราะเห็นว่าลักษณะและคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
มีหลักเกณฑ์และจุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน กล่าวคือ
ใช้ภาษาที่มีคารมคมคายเพื่อต้องการสื่อความหมายเปรียบเทียบให้เด่นชัดขึ้น ลึกซึ้ง
กินใจ และเป็นคติสอนใจ ให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว คำพังเพยบางครั้งก็เป็นวลี
บางครั้งก็เป็นประโยค)
๓. สุภาษิต เป็นคำกล่าวที่เป็นสัจธรรม
เป็นสิ่งที่เป็นจริง เป็นถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบกันมาช้านานแล้ว มีจุดมุ่งหมายเพื่อสั่งสอนโดยตรง ไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย
เป็นคำกล่าวที่ดีงามมีความหมายลึกซึ้งเป็นคติสอนใจอ่านแล้วเข้าใจได้โดยไม่ต้องแปลความหมาย
เนื้อความที่สั่งสอนเป็นความจริงที่ยอมรับกันทั่วๆไป เช่น
ธรรมะย่อมชนะอธรรม ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
๔. อุปมา อุปไมย เป็นถ้อยคำสำนวนประเภทหนึ่ง ซึ่งกล่าวทำนองเปรียบเทียบให้เห็นจริง เกิดภาพพจน์
เข้าใจง่ายขึ้น สิ่งที่ยกมาเปรียบเทียบเรียกว่า อุปมา สิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบเรียกว่า อุปไมย เช่น
ลื่นเป็นปลาไหล
รกเป็นรังหนู
ลามเป็นขี้กลาก
คิ้วโก่งดังคันศร
โง่เหมือนควาย
ดำเหมือนถ่าน
ผิวขาวเหมือนไข่ปอก
ผอมเป็นกุ้งแห้ง
สวยเหมือนนางฟ้า
คันเหมือนตำแย
งงเป็นไก่ตาแตก
พูดเป็นต่อยหอย
เค็มเหมือนเกลือ
หน้าบานเป็นใบบัว
ตาโตเท่าไข่ห่าน
ไวอย่างลิง
ใจดำเหมือนกา
สมกันราวกิ่งทองใบหยก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น