สุภาษิต
|
ความหมาย
|
เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
|
ทำอะไรให้เหมาะสมกับวัย
จึงจะสำเร็จประโยชน์ มีความเจริญรุ่งเรือง
คนจะพัฒนาได้ง่ายต้องเริ่มตั้งแต่ยังเล็ก
|
เป็นคนเรียนความรู้
|
เกิดเป็นคนต้องศึกษาหาความรู้ไว้อยู่กับตัวเสมอ
เพราะความรู้ ช่วยเราได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าในยามปกติหรือคับขัน
|
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง
|
สร้างมิตรภาพกับผู้อื่นอยู่เสมอ
|
สร้างกุศลอย่ารู้โรย
|
การสร้างบุญ
สร้างกุศล ช่วยทำให้กิเลสถูกขัดเกลาเบาบางลง คนมีกิเลสน้อย ชีวิตจะมีแต่ความสุข
ความร่มเย็น
|
โอบอ้อมเอาใจคน
|
ให้มีเมตตาต่อคนทั้งหลาย
ไม่เฉพาะแก่พี่น้องเท่านั้น
|
ปลูกไมตรีทั่วชน
|
หมั่นผูกไมตรีกับคนทุกคน
มีมิตรดีกว่ามีศัตรู
|
ตระกูลตนจงคำนับ
|
ให้ความเคารพวงศ์ตระกูล
|
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน
|
อย่าทำตัวเก่งกว่าเพื่อน
|
เป็นคนอย่าทำใหญ่
|
อย่าอวดเบ่งคุยโตหรือมีอิทธิพลเหนือใครต่อใคร
|
อย่าเบียดเสียดแก่มิตร
|
ไม่ควรเบียดเบียนหรือเอาเปรียบเพื่อน
ควรให้ความรักความจริงใจกับเพื่อน
|
ที่ผิดช่วยเตือนตอบ
|
สิ่งใดที่เพื่อนทำผิดก็ช่วยบอกกล่าวตักเตือน
|
ที่ชอบช่วยยกยอ
|
สิ่งใดที่เพื่อนทำดีอยู่แล้วก็ควรยกย่องชมเชย
|
อย่าขอของรักมิตร
ชอบชิดมักจางจาก
|
ไม่ควรสร้างความลำบากใจให้กับเพื่อน
เช่น การขอในสิ่งที่เพื่อนรักและหวงโดยไม่เกรงใจอาจทำให้เสียเพื่อนไปก็ได้
|
ยอมิตรเมื่อลับหลัง
|
การชมมิตรเมื่อลับหลังเป็นการชมอย่างจริงใจ
|
อย่าประกอบกิจเป็นพาล
|
อย่าประกอบอาชีพที่ทุจริต
|
พึงผันเผื่อต่อญาติ
|
ให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ญาติพี่น้อง
|
พรรคพวกพึงทำนุก ปลุกเอาแรงทั่วชน
ยลเยี่ยงไก่นกกระทา พาลูกหลานมากิน
|
คนที่เป็นพวกกับเรา
เราควรเลี้ยงดูเขาให้มีความสุข เพราะเขาอาจสามารถช่วยเหลือเราได้
ให้ดูตัวอย่างไก่หรือนกกระทาที่หาอาหารมาได้ก็เผื่อแผ่ลูกๆ คนเราก็เช่นกัน
เมื่อมีลาภหรือของกินของใช้ ควรเรียกลูกหลาน มิตรสหาย
|
อย่ารักถ้ำกว่าเรือน
อย่ารักเดือนกว่าตะวัน
|
อย่าเห็นของมีประโยชน์น้อยดีกว่าของมีประโยชน์มาก
|
อย่าตื่นยกยอตน
|
ไม่ควรพูดยกยอตนเอง
|
อย่าชังครูชังมิตร
|
อย่าเกลียดครูผู้เป็นกัลยาณมิตร
|
อย่าผูกมิตรคนจร
|
อย่าคบหากับคนเร่ร่อนพเนจร
ไม่มีหัวนอนปลายเท้า
|
เมตตาตอบต่อมิตร
|
ควรมีความรักความจริงใจตอบต่อเพื่อน
|
คนขำอย่าร่วมรัก
|
ไม่ควรคบหาสมาคมกับคนมีลับลมคมในหรือคนเจ้าเล่ห์
|
คนทรยศอย่าเชื่อ
อย่าเผื่อแผ่ความคิด
|
ไม่ควรให้ความเคารพเชื่อถือคนชั่ว
และไม่ควรโยนความผิดให้กับผู้อื่น
|
สุวานขบอย่าขบตอบ
|
ไม่ควรยุ่งเกี่ยวหรือต่อล้อต่อเถียงกับคนชั่ว
|
เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
|
ให้มีความรอบคอบเมื่อจะปฏิบัติภารกิจอะไรควรนำเครื่องมือเครื่องใช้ให้ครบครัน
|
หน้าศึกอย่านอนใจ
|
ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเสมอ
|
เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว
|
ไม่ควรไปไหนมาไหนโดยลำพังเพราะภัยอันตรายอยู่รอบด้าน
|
ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก
|
อย่าได้ขาดเครื่องป้องกันยามเข้าไปอยู่ในสถานที่ลำบากหรือที่
ที่มีภัย
|
ทำรั้วเรือกไว้กับตน
|
จงหมั่นทำความดีไว้เสมอเพื่อเป็นเครื่องกำบังตน
|
จงเร่งระมัดฟืนไฟ
|
ให้รู้จักระมัดระวังในการใช้ฟืนไฟอาจจะเกิดอันตรายได้
|
ที่ทับจงมีไฟ
|
ที่อยู่อาศัยควรมีไฟยามค่ำคืน
|
ที่ไปจงมีเพื่อน
ทางแถวเถื่อนไคลคลา
|
ไปไหนมาไหนควรมีเพื่อนร่วมทางไปด้วย
ยามอันตรายจะได้ช่วยเหลือกัน
|
เข้าออกอย่าวางใจ
ระวังระไวหน้าหลัง เยียวผู้ชังจะคอยโทษ
|
ต้องรู้จักระมัดระวังตัวในการเดินทางไปไหนมาไหน
ไม่ควร ประมาทเพราะอาจจะมีคนคอยปองร้ายเราได้
|
ข้างตนไว้อาวุธ
สรรพยุทธอย่าวางจิต
|
ภัยอันตรายมีได้ทุกเมื่อ
ควรรู้จักตระเตรียมตัวป้องกันเอาไว้ก่อน
|
ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน
|
อย่าแสดงความโกรธต่อคนรับใช้หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
|
ภักดีอย่าด่วนเคียด
|
ให้เป็นคนที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี
อย่าหุนหันตัดใจ
|
อย่ากริ้วโกรธเนืองนิตย์
|
อย่าเป็นคนโมโหอยู่ตลอดเวลา
|
อย่ามีปากว่าคน
|
ไม่ควรนินทาหรือว่าคนอื่นให้ได้รับความเสียหาย
|
พบศัตรูปากปราศรัย
|
ความในอย่าไขเขา
ควรพูดจาปกติแม้ว่าจะเป็นศัตรูกัน แต่ไม่ควรเผยความในใจ ให้เขารู้
|
เจรจาตามคดี
|
ควรพูดตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเพราะความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
|
อย่าขุดคนด้วยปาก
|
ไม่ควรพูดค่อนขอดหรือกล่าวหาว่าร้ายใคร
|
อย่าจับลิ้นแก่คน
|
อย่าคอยจับผิดคำพูดผู้อื่น
|
เมื่อพาทีพึงตอบ
|
ควรพูดเมื่อจำเป็นต้องพูด
|
อย่าริกล่าวคำคด
|
อย่าพูดโกหก
ให้พูดแต่ความจริง
|
โต้ตอบอย่าเสียคำ
|
ในการสนทนาหรือโต้คารมไม่ควรกล่าวคำพูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
|
คิดแล้วจึงเจรจา
|
ควรคิดให้ดีก่อนพูด
|
อย่านินทาผู้อื่น
|
ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น
หรือกล่าวคำให้ผู้อื่นเสียหาย
|
อย่าจับลิ้นแก่คน
|
อย่าคอยจับผิดคำพูดผู้อื่น
|
โต้ตอบอย่าเสียคำ
|
ในการสนทนาหรือโต้คารมไม่ควรกล่าวคำพูดให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
|
คิดแล้วจึงเจรจา
|
ควรคิดให้ดีก่อนพูด
|
อย่านินทาผู้อื่น
|
ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น
หรือกล่าวคำให้ผู้อื่นเสียหาย
|
อย่านั่งชิดผู้ใหญ่
|
ให้รู้จักที่ต่ำที่สูง
อย่าตีตนเสมอท่าน
|
อย่าขัดแข็งผู้ใหญ่
|
ไม่ควรขัดแย้งหรืองัดข้อหรือแสดงอำนาจกับผู้ใหญ่หรือผู้ที่
มีอำนาจมากกว่าเพราะอาจจะมีภัย
|
จงนบนอบผู้ใหญ่
|
ต้องมีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
|
ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ
|
ควรจำคำที่ผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนมาใช้ปฏิบัติเพราะจะเป็นประโยชน์กับตนภายหลัง
|
ครูบาสอนอย่าโกรธ
|
เมื่อครูอบรมสั่งสอนไม่ควรโกรธเพราะครูเป็นผู้ที่มีความปรารถนาที่ดีต่อศิษย์
|
ท่านไท้อย่าหมายโทษ
|
อย่าจับผิดผู้ใหญ่
|
นอบตนต่อผู้เฒ่า
|
มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
|
ทดแทนคุณท่านเมื่อยาก
|
ต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยามแก่เฒ่าหรือขณะท่านมีความยากลำบาก
|
อย่าเลียนครูเตือนด่า
|
อย่านำพฤติกรรมของครูขณะอบรมสั่งสอนเรามาล้อเลียน
|
ท่านสอนอย่าสอนตอบ
|
เมื่อผู้ใหญ่ตักเตือนสั่งสอนควรตั้งใจฟังด้วยความเคารพ
ไม่กล่าวคำยอกย้อนต่อผู้ใหญ่
|
ท่านรักตนจงรักตอบ
|
เมื่อผู้ใหญ่มีความปรารถนาดีต่อเราเราควรแสดงความกตัญญู
ต่อท่าน
|
ท่านนอบตนจงนอบแทน
|
ผู้ที่อ่อนน้อมต่อเราเราควรอ่อนน้อมตอบ
|
ให้หาสินเมื่อใหญ่
|
เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ต้องรู้จักทำงานประกอบอาชีพมาเลี้ยงตนและครอบครัว
|
อย่าริร่านแก่ความ
|
อย่าด่วนหาเรื่อง
|
ประพฤติตามบูรพระบอบ
|
ประพฤติตนตามขนบธรรมเนียมระเบียบประเพณีที่กำหนด
|
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์
|
อย่าทะเยอทะยานเกินความสามารถของตน
|
เข็นเรือทอดกลางถนน
|
เตือนไม่ให้ทำอะไรผิดปกติวิสัยหรือผิดกาลเทศะ
|
หว่านพืชจักเอาผล
เลี้ยงคนจักกินแรง
|
ทำอะไรไม่ควรหวังผลประโยชน์
|
อย่าใฝ่ตนให้เกิน
|
อย่าทำตัวเกินฐานะของตน
|
ตนเป็นไทอย่าคบทาส
|
เมื่อพ้นสภาพจากการเป็นทาสแล้วไม่ควรมาคบกับทาสอีก
|
มีสินอย่าอวดมั่ง
|
อย่าอวดความมั่งมีทรัพย์สินเงินทองเพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้
|
รักตนกว่ารักทรัพย์
|
ให้รักเกียรติ
นักชื่อเสียงวงศ์ตระกูลยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทอง
|
สู้เสียสินกว่าเสียศักดิ์
|
เกียรติยศ ชื่อเสียง
เป็นสิ่งที่หามาได้ยากลำบาก เมื่อมีแล้วก็ควรรักษาให้ดี
ถ้าเสียไปคงหามาใหม่ได้ยาก
ผิดกับทรัพย์สินเงินทองเมื่อเสียไปแล้วหาใหม่มาทดแทนได้
|
คิดตรองตรึกทุกเมื่อ
|
ควรคิดไตร่ตรองใคร่ครวญให้ดีก่อนก่อนที่จะทำอะไร
|
เยียวสะเทินจะอดสู
|
ทำสิ่งใดขาดๆ เกินๆ
ก้ำกึ่งจะเป็นที่อับอาย
|
อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน
|
ควรทำมาหากินด้วยตนเอง
ไม่ควรหวังพึ่งผู้อื่นในการเลี้ยงตน
|
ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน
|
ยามไปธุระปะปังที่ไหนไม่ควรนั่งนานเพราะจะทำให้เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
|
ที่รักอย่าดูถูก
|
ควรให้ความรักความเกรงใจแม้คนใกล้ชิดสนิทสนมไม่ควรมองข้าม
|
น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
|
ในขณะที่เหตุการณ์รุนแรงยังดำเนินอยู่อย่างร้อนรนเราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
|
ช้างไล่แล่นเลี่ยงหลบ
|
ถ้าถูกคุกคามจากผู้มีอำนาจให้หลบหลีกไม่ควรต่อสู้
|
เข้าออกอย่าวางใจ
ระวังระไวหน้าหลัง เยียวผู้ชังจะคอยโทษ
|
ต้องรู้จักระมัดระวังตัวในการเดินทางไปไหนมาไหน
ไม่ควร ประมาทเพราะอาจมีคนคอยปองร้ายเราได้
|
ข้างตนไว้อาวุธ
สรรพยุทธอย่าวางจิต
|
ภัยอันตรายมีได้ทุกเมื่อ
ควรรู้จักตระเตรียมตัวป้องกันเอาไว้ก่อน
|
ความแหนให้ประหยัด
|
สิ่งที่รักและหวงแหนก็ให้ระมักระวังรักษาไว้ให้ดี
โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นความลับก็ควรรักษาไว้ให้ดี
โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นความลับก็ควรรักษาไว้อย่าแพร่งพราย
|
เผ่ากษัตริย์เพลิงงู
|
ไม่ควรไว้ใจในสิ่งต้องห้าม
ห้าประการคือ กษัตริย์ เด็ก ผู้หญิง งูและไฟ เพราะอาจนำความเดือดร้อนมาสู่เราได
|
อย่าตีงูให้แก่กา
|
อย่าทำสิ่งไร้ประโยชน์อาจเกิดโทษแก่ตนได้
|
อย่าตีปลาหน้าไซ
|
อย่าขัดขวางผลประโยชน์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
|
อย่าดีสุนัขห้ามเห่า
|
อย่าทำสิ่งที่สวนทางกับธรรมชาติ
หรืออย่าขัดขวางผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของตน
|
อย่าเข้าแบกงาช้าง
|
อย่าทำการใดเสี่ยงอันตรายและไม่เกิดประโยชน์แก่ตน
|
อย่าโดยคำคนพลอด
|
อย่าเชื่อคำพูดอันหวานหู
|
อย่ามัวเมาเนืองนิตย์
|
อย่าหลงใหลในสิ่งไร้สาระตลอดเวลา
|
อย่าได้รับของเข็ญ
|
อย่ารับของร้อนหรือของโจร
|
โทษตนผิดพึงรู้
|
สอนให้พิจารณาตนเอง
ให้หาความผิดของตน เมื่อพบแล้วให้หาหนทางแก้ไขเสีย
|
การเรือนตนเร่งคิด
|
ควรปฏิบัติงานบ้านงานเรือนอยู่เสมออย่าให้บกพร่อง
|
โทษตนผิดรำพึง
อย่าคะนึงถึงโทษท่าน
|
ให้มองเห็นโทษของการทำความผิดหรือความชั่วไม่ควรไป
เสียเวลาจับผิดคนอื่น
|
เห็นงามตาอย่าปอง
|
สิ่งที่มองเห็นว่าสวยงาม
อย่าเพิ่งหมายปองเพราะของสวยงามมักมาพร้อมกับภัยอันตราย
|
อย่าตื่นยกยอตน
|
ไม่ควรพูดยกยอตนเองเปรียบเทียบเหมือนกลองจะดังต้องมีคนตี
ถ้ากลองดังโดยไม่มีคนตีเรียกว่ากลองจัญไร
|
ของฝากท่านอย่ารับ
|
อย่ามักง่ายหรือเห็นแก่ได้
|
อย่ากอรปจิตริษยา
|
ไม่ควรริษยาผู้อื่นเพราะการริษยาเป็นบ่อนทำลายสามัคคี
|
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ความหมายของสุภาษิตพระร่วง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น