วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ดอกประดู่



ชื่อสามัญ   :    Burma Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์   :    Plerocapus indicus.

ตระกูล   :      PAPILIONACEAE 


        
 ลักษณะทั่วไปการเป็นมงคลตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกการปลูกประดู่ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตรผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลมแตกกิ่งก้านสาขากว้างมีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่งมีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ ๖-๑๒ ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว กว้างประมาณ ๑-๒ นิ้ว ออกดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลมีขนเล็ก ๆปกคลุมขนาดผลโตประมาณ ๔-๖ เซนติเมตร
           คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง

คำประพันธ์ที่เกี่ยวกับ ดอกประดู่

              ประดู่ลำดวนยมโดย                            ลมโชยกลิ่นชวนหอมหวาน
        นางแย้มสายหยุดพุดตาล                          อังกาบชูก้านกระดังงา
                                                                         รามเกียรติ์  : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น