วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

ประเภทของการอ่าน



                  โดยทั่วไปการอ่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ การอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ ดังนี้
๑.      การอ่านออกเสียง คือการอ่านหนังสือโดยที่ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ ในขณะอ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายต่าง ๆ ดังนี้ เพื่อความบันเทิง เพื่อถ่ายทอดข่าวสาร เพื่อประกาศ เพื่อรายงานหรือเพื่อแถลงนโยบาย ดังนั้น การอ่านออกเสียง จึงเป็นการแปลสัญลักษณ์หรืออักษรออกเป็นเสียง จากนั้นจึงแปลสัญญาณเสียงเป็นความหมาย ซึ่งผู้อ่านต้องระมัดระวังการอ่านออกเสียงทั้งเสียง “ร”  “ล” คำควบกล้ำ การสะกด จังหวะ ลีลา และการเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องไพเราะ เหมาะสม
๒.     การอ่านในใจ  คือ การทำความเข้าใจสัญลักษณ์ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงรูปภาพและเครื่องหมายต่าง ๆ ออกเป็นความหมายโดยใช้สายตาทอดไปตามตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ แล้วจึงใช้กระบวนการคิด แปลความหมาย ตีความ เพื่อรับสารของเรื่องนั้น ๆ

ตารางแสดงขั้นตอนการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ
            ขั้นตอน
วิธีการ
การอ่านออกเสียง
รับรู้ตัวหนังสือ
แปลสัญลักษณ์
ตัวอักษรเป็นเสียง
=>การพูด
แปลเสียงเป็นความหมาย
=>รับรู้ความหมาย
การอ่านในใจ
รับรู้ตัวหนังสือ
แปลสัญลักษณ์
ตัวอักษรเป็นความหมาย
=>รับรู้ความหมาย




      

1 ความคิดเห็น: