ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้นามแฝงว่าพระขรรค์เพชร
พระองค์ทรงผูกเรื่องและทรงเรียบเรียงเอง
รูปแบบ : เรื่องเห็นแก่ลูกแต่งเป็นบทละครพูด เป็นเรื่องขนาดสั้น มี 1 องค์
ลักษณะการแต่ง
รัชกาลที่ 6 ทรงผูกเรื่องอย่างรัดกุมและดำเนินเรื่องโดยใช้บทสนทนาของตัวละครโต้ตอบกัน ทำให้ทราบเรื่องราวที่ดำเนินไป และทราบเบื้องหลังของตัวละครแต่ละตัว นอกจากนี้ ยังทรงบรรยายกริยาท่าทางของตัวละครแต่ละตัวไว้ในวงเล็บ เพื่อช่วยให้นักแสดง แสดงตามบทได้สะดวกและสมบทบาทยิ่งขึ้น ภาษาที่ใช้ในบทละครนี้ ใช้คำพูดง่ายๆแต่ให้ความหมายคมคายลึกซึ้ง แม้ว่าบางคำที่มีใช้ในอดีตสมัย 80-90ปีก่อนแต่ไม่มีใช้ในปัจจุบัน ผู้อ่านก็ยังพอเดาความหมายได้
พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2423 เมื่อ พระชนมายุ 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรม ขุนเทพทวาราวดี และต่อมาทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จพระบรมเชษฐา เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคต และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักปราชญ์ (ทรงได้รับการถวายพระ ราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) และทรงเป็นจินตกวีที่ทรงเชี่ยวชาญทาง ด้านอักษรศาสตร์โบราณคดี มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วร้อยกรองทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มากกว่า 200 เรื่อง ทรงใช้นามแฝงต่างๆกัน เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ ศรีอยุธยา พันแหลม นายแก้วนายขวัญ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา
เนื้อเรื่องย่อ
นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัดจนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อ ของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย
รูปแบบ : เรื่องเห็นแก่ลูกแต่งเป็นบทละครพูด เป็นเรื่องขนาดสั้น มี 1 องค์
ลักษณะการแต่ง
รัชกาลที่ 6 ทรงผูกเรื่องอย่างรัดกุมและดำเนินเรื่องโดยใช้บทสนทนาของตัวละครโต้ตอบกัน ทำให้ทราบเรื่องราวที่ดำเนินไป และทราบเบื้องหลังของตัวละครแต่ละตัว นอกจากนี้ ยังทรงบรรยายกริยาท่าทางของตัวละครแต่ละตัวไว้ในวงเล็บ เพื่อช่วยให้นักแสดง แสดงตามบทได้สะดวกและสมบทบาทยิ่งขึ้น ภาษาที่ใช้ในบทละครนี้ ใช้คำพูดง่ายๆแต่ให้ความหมายคมคายลึกซึ้ง แม้ว่าบางคำที่มีใช้ในอดีตสมัย 80-90ปีก่อนแต่ไม่มีใช้ในปัจจุบัน ผู้อ่านก็ยังพอเดาความหมายได้
พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรี พัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2423 เมื่อ พระชนมายุ 8 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรม ขุนเทพทวาราวดี และต่อมาทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร แทนสมเด็จพระบรมเชษฐา เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งสวรรคต และได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักปราชญ์ (ทรงได้รับการถวายพระ ราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า) และทรงเป็นจินตกวีที่ทรงเชี่ยวชาญทาง ด้านอักษรศาสตร์โบราณคดี มีพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วร้อยกรองทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มากกว่า 200 เรื่อง ทรงใช้นามแฝงต่างๆกัน เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ ศรีอยุธยา พันแหลม นายแก้วนายขวัญ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา
เนื้อเรื่องย่อ
นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัวปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัดจนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบเรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอดฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออกลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อ ของแม่ลออ ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1.ความดีความชั่วที่บุคคลได้กระทำลงไป อาจส่งผลช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆหลายประการ
2.เหตุการณ์ที่กระทบใจมนุษย์ และมีผลให้มนุษย์แปรเปลี่ยนความตั้งใจไปได้อย่างตรงกันข้ามนั้น อาจเกิดได้โดยไม่ได้คาดฝัน และโดยมิใช่เจตนาของใครทั้งสิ้น
3.ความรักและความภูมิใจที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทน ใดๆทั้งสิ้น
4.ความรักอันบริสุทธิ์ที่บุคคล 2 คนมีต่อกันนั้น จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะบุคคล 2 คน เท่านั้น แต่อาจเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
1.ความดีความชั่วที่บุคคลได้กระทำลงไป อาจส่งผลช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆหลายประการ
2.เหตุการณ์ที่กระทบใจมนุษย์ และมีผลให้มนุษย์แปรเปลี่ยนความตั้งใจไปได้อย่างตรงกันข้ามนั้น อาจเกิดได้โดยไม่ได้คาดฝัน และโดยมิใช่เจตนาของใครทั้งสิ้น
3.ความรักและความภูมิใจที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทน ใดๆทั้งสิ้น
4.ความรักอันบริสุทธิ์ที่บุคคล 2 คนมีต่อกันนั้น จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะบุคคล 2 คน เท่านั้น แต่อาจเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น