วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556
กุหลาบ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Rosa damascema, Mill.
ชื่อสามัญ : Damask Rose, Persia Rose, Mon Rose
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
ชื่อสามัญ : Damask Rose, Persia Rose, Mon Rose
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
กุหลาบมอญเป็นไม้ดอกประเภทไม้พุ่มผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านมีหนาม พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๓ เมตร อายุยืน แข็งแรง เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ ๖ ชั่วโมง จึงควรปลูกในที่โล่งแจ้งแต่ควรเป็นที่อับลม ขึ้นได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์พอ ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง ดินจึงต้องระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศร้อนในตอนกลางวัน และอากาศเย็นในตอนกลางคืน กุหลาบมอญนี้ถือได้ว่าเป็นกุหลาบพื้นเมืองของไทย ใบเป็นใบประกอบชนิดขนนก มีหูใบ ๑ คู่ มีใบย่อย ๓ - ๕ ใบ ในก้านช่อใบหนึ่ง ๆ ใบจัดเรียงแบบสลับ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน มีรอยย่นเล็กน้อย ขอบใบเป็นจักละเอียด เส้นกลางใบด้านท้องใบมีหนามห่าง ๆ ดอกมีลักษณะค่อนข้างกลม กลับดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น วนออกนอกเป็นรัศมีโดยรอบ ดอกมีสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม ดอกมักออกเป็นช่อ ทางปลายกิ่ง กลีบดอกมีลักษณะปลายแหลมเรียว การขยายพันธ์ใช้วิธีตอนกิ่ง
บทประพันธ์ที่กล่าวถึงดอกกุหลาบ
“…เที่ยวชมแถวขั้นรุกขชาติ ดอกเกลื่อนดกกลาดหนักหนา
กาหลงกุหลาบกระดังงา การะเกดกรรณิการ์ลำดวน…”
(รามเกียรติ์:พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
กาหลงกุหลาบกระดังงา การะเกดกรรณิการ์ลำดวน…”
ดอกประดู่
ชื่อสามัญ : Burma Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocapus indicus.
ตระกูล : PAPILIONACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocapus indicus.
ตระกูล : PAPILIONACEAE
ลักษณะทั่วไปการเป็นมงคลตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกการปลูกประดู่ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ ๑๐-๒๕ เมตรผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลมแตกกิ่งก้านสาขากว้างมีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่งมีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ ๖-๑๒ ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว กว้างประมาณ ๑-๒ นิ้ว ออกดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลมีขนเล็ก ๆปกคลุมขนาดผลโตประมาณ ๔-๖ เซนติเมตร
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
คำประพันธ์ที่เกี่ยวกับ ดอกประดู่
ประดู่ลำดวนยมโดย ลมโชยกลิ่นชวนหอมหวาน
นางแย้มสายหยุดพุดตาล อังกาบชูก้านกระดังงา
รามเกียรติ์ : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
ประดู่ลำดวนยมโดย ลมโชยกลิ่นชวนหอมหวาน
นางแย้มสายหยุดพุดตาล อังกาบชูก้านกระดังงา
รามเกียรติ์ : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑
วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556
คำคม ข้อคิดดีๆ .... จากหลากหลายนักปราชญ์
|
วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน
ทักษะการสื่อสารของมนุษย์
ประกอบไปด้วย การฟัง การอ่าน การพูด และการเขียน การฟังและการอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับในการสื่อสารเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
การฟังเป็นทักษะซึ่งอาจมีข้อจำกัดเรื่องเวลา สถานที่และความคงทนของสาร ส่วนการอ่านเป็นทักษะที่สำคัญในการแสวงหาความรู้
ทั้งนี้ด้วยสื่อที่ใช้สำหรับการอ่านมีความคงทนมากกว่า ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา
และสถานที่
ดังนั้นจึงถือได้ว่า
ทักษะการอ่านมีความจำเป็นและมีความสำคัญสำหรับผู้ที่แสวงหาความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน นักศึกษา
เพราะความสำเร็จทางการศึกษาย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและพื้นฐานทางการอ่านที่ดี
๑.๑
ความหมายและความสำคัญ
การอ่าน
คือ กระบวนการรับรู้และเข้าใจสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร
จากนั้นจึงแปลสัญลักษณ์อักษรเหล่านั้นเป็นความรู้ โดยอาศัยทักษะการอ่าน
กระบวนการคิด ประสบการณ์และความรู้ของผู้อ่านรวมถึงเมื่ออ่านจบแล้ว
ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องที่อ่าน ทั้งในลักษณะ เห็นด้วย คล้อยตาม หรือโต้แย้ง
ในการอ่านแต่ละครั้งไม่เพียงแต่ผู้อ่านจะได้รับสาระหรือเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอเท่านั้น
แต่ผู้อ่านยังสามารถรับรู้ทัศนะ เจตนา อารมณ์
และความรู้สึกที่ผู้เขียนถ่ายทอดมาในสาร
ซึ่งสิ่งที่ได้รับมาจากการอ่านแต่ละครั้งจึงมีทั้งส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ คือ
ข้อเท็จจริง และส่วนที่เป็นอารมณ์ความรู้สึก หรือทัศนะของผู้เขียน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะและประสบการณ์ในการตีความตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนทักษะการอ่านเพื่อให้เข้าใจได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
๑.๒
ระดับของการอ่าน
ระดับของการอ่านแบ่งเป็น
๒ ระดับ คือ อ่านได้และอ่านเป็น การรับรู้จากการอ่านโดยทั่วไปเริ่มจากระดับที่อ่านได้
คือ สามารถแปลความหมาย รับรู้สารผ่านด้วยอักษร ส่วนในระดับอ่านเป็น
ผู้อ่านจะสามารถจับใจความสำคัญ แนวคิดของเรื่อง รวมถึงความหมายแฝง
หรือความหมายที่ได้จากการตีความ สามารถประเมินค่าจากสารที่อ่านได้
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่านแต่ละคน
แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน
การอ่านออกเสียงเป็นวิธีการอ่านที่ควรใช้น้ำเสียงให้ถูกต้อง
สอดคล้อง และมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องแต่ละประเภท
รวมถึงการรู้จักฝึกฝนการอ่านอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้มีพื้นฐานการอ่านที่ดี
เกิดความชำนาญในการอ่าน รวมถึงการมีมารยาทในการอ่านและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม จึงจะได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลอื่น
ประเภทของการอ่าน
โดยทั่วไปการอ่านแบ่งออกเป็น
๒ ประเภท คือ การอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ ดังนี้
๑. การอ่านออกเสียง
คือการอ่านหนังสือโดยที่ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ ในขณะอ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายต่าง
ๆ ดังนี้ เพื่อความบันเทิง เพื่อถ่ายทอดข่าวสาร เพื่อประกาศ เพื่อรายงานหรือเพื่อแถลงนโยบาย
ดังนั้น การอ่านออกเสียง จึงเป็นการแปลสัญลักษณ์หรืออักษรออกเป็นเสียง จากนั้นจึงแปลสัญญาณเสียงเป็นความหมาย
ซึ่งผู้อ่านต้องระมัดระวังการอ่านออกเสียงทั้งเสียง “ร” “ล” คำควบกล้ำ การสะกด จังหวะ ลีลา
และการเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องไพเราะ เหมาะสม
๒. การอ่านในใจ คือ การทำความเข้าใจสัญลักษณ์ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
รวมถึงรูปภาพและเครื่องหมายต่าง ๆ ออกเป็นความหมายโดยใช้สายตาทอดไปตามตัวอักษรหรือสัญลักษณ์
แล้วจึงใช้กระบวนการคิด แปลความหมาย ตีความ เพื่อรับสารของเรื่องนั้น ๆ
ตารางแสดงขั้นตอนการอ่านออกเสียงและการอ่านในใจ
ขั้นตอน
วิธีการ
|
๑
|
๒
|
๓
|
การอ่านออกเสียง
|
รับรู้ตัวหนังสือ
|
แปลสัญลักษณ์
ตัวอักษรเป็นเสียง
=>การพูด
|
แปลเสียงเป็นความหมาย
=>รับรู้ความหมาย
|
การอ่านในใจ
|
รับรู้ตัวหนังสือ
|
แปลสัญลักษณ์
ตัวอักษรเป็นความหมาย
=>รับรู้ความหมาย
|
|
เป้าหมายการเรียนรู้
๑. บอกความหมายและความสำคัญของการอ่านได้
๒. บอกจุดประสงค์ของการอ่านได้
๓. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องตามอักขระวิธีและความไพเราะเหมาะสม
๔. มีมารยาทในการอ่าน
จุดประสงค์ของการอ่าน
จุดประสงค์ของการอ่าน
การอ่านหนังสือ มีวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้
๑) อ่านเพื่อการเขียน คือ การอ่านเพื่อนำความรู้มาใช้ในการเขียน เช่น เรียงความ บทความ สารคดี ฯลฯ ซึ่งผู้อ่านควรวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล คัดเลือกข้อมูลที่เหมาะสมนำไปใช้เขียนหรืออ้างอิง เช่น การอ่านหนังสือ เรื่องวัฏจักรชีวิตของกบ เพื่อนำข้อมูลมาเขียนรายงานวิชาวิทยาศาสตร์
๒) อ่านเพื่อหาคำตอบ คือการอ่านเพื่อต้องการคำตอบสำหรับประเด็นคำถามหนึ่งๆ จากแหล่งค้นคว้าและเอกสารประกอบต่าง ๆ เพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเอง เช่น การอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์ เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
๓) อ่านเพื่อปฏิบัติตาม คือการอ่านเพื่อทำตามคำแนะนำในข้อความหรือหนังสือที่อ่าน เช่น การอ่านฉลากยา เพื่อดูคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา หรือการอ่านตำราทำอาหาร ที่มีการอธิบายขั้นตอน วิธีการทำ รวมถึงเครื่องปรุงส่วนผสมอย่างละเอียด ซึ่งการอ่านด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อสามารถปฏิบัติตามได้
๔) อ่านเพื่อสะสมความรู้หรือสะสมความรู้ คือการอ่านเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้ โดยทำให้ผู้อ่านที่เป็นนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป และไม่จะเป็นต้องมีโอกาสและกาลเทศะมากำหนดให้ต้องอ่าน ซึ่งการอ่านแต่ละครั้งควรเก็บและเรียบเรียงประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่าน ไว้เป็นคลังความรู้สำหรับนำมาใช้อ้างอิงในภายหลัง เช่น การอ่านหนังสือทางวิชาการ
๕) อ่านเพื่อความบันเทิง คือการอ่านตามความพึงพอใจของผู้อ่าน ซึ่งผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยยกระดับจิตใจ ช่วยให้เกิดความสุข ผ่อนคลาย คลายความทุกข์ใจ และบางครั้งผู้อ่านอาจได้ข้อคิดและแนวทางในการใช้ชีวิต เช่น การอ่านนิยาย นิตยสาร วารสาร เป็นต้น
๖) อ่านเพื่อรู้ข่าวสาร คือ การอ่านเพื่อศึกษา รับรู้ความเป็นไปของโลก และพัฒนาความรู้ของตนเอง เช่น การอ่านข่าว นิตยสาร วารสาร เป็นต้น
๗) อ่านเพื่อแก้ปัญหา คือ การอ่านเพื่อต้องการคำตอบ หรือแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การอ่านพจนานุกรม เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับคำศัพท์ ความหมาย การสะกดการันต์ที่ถูกต้อง หรือการอ่านหนังสือแนะนำการเดินทาง แผนที่ เป็นต้น
การอ่านหนังสือ มีวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้
๑) อ่านเพื่อการเขียน คือ การอ่านเพื่อนำความรู้มาใช้ในการเขียน เช่น เรียงความ บทความ สารคดี ฯลฯ ซึ่งผู้อ่านควรวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล คัดเลือกข้อมูลที่เหมาะสมนำไปใช้เขียนหรืออ้างอิง เช่น การอ่านหนังสือ เรื่องวัฏจักรชีวิตของกบ เพื่อนำข้อมูลมาเขียนรายงานวิชาวิทยาศาสตร์
๒) อ่านเพื่อหาคำตอบ คือการอ่านเพื่อต้องการคำตอบสำหรับประเด็นคำถามหนึ่งๆ จากแหล่งค้นคว้าและเอกสารประกอบต่าง ๆ เพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเอง เช่น การอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์ เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
๓) อ่านเพื่อปฏิบัติตาม คือการอ่านเพื่อทำตามคำแนะนำในข้อความหรือหนังสือที่อ่าน เช่น การอ่านฉลากยา เพื่อดูคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา หรือการอ่านตำราทำอาหาร ที่มีการอธิบายขั้นตอน วิธีการทำ รวมถึงเครื่องปรุงส่วนผสมอย่างละเอียด ซึ่งการอ่านด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจรายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อสามารถปฏิบัติตามได้
๔) อ่านเพื่อสะสมความรู้หรือสะสมความรู้ คือการอ่านเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้ โดยทำให้ผู้อ่านที่เป็นนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป และไม่จะเป็นต้องมีโอกาสและกาลเทศะมากำหนดให้ต้องอ่าน ซึ่งการอ่านแต่ละครั้งควรเก็บและเรียบเรียงประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่าน ไว้เป็นคลังความรู้สำหรับนำมาใช้อ้างอิงในภายหลัง เช่น การอ่านหนังสือทางวิชาการ
๕) อ่านเพื่อความบันเทิง คือการอ่านตามความพึงพอใจของผู้อ่าน ซึ่งผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยยกระดับจิตใจ ช่วยให้เกิดความสุข ผ่อนคลาย คลายความทุกข์ใจ และบางครั้งผู้อ่านอาจได้ข้อคิดและแนวทางในการใช้ชีวิต เช่น การอ่านนิยาย นิตยสาร วารสาร เป็นต้น
๖) อ่านเพื่อรู้ข่าวสาร คือ การอ่านเพื่อศึกษา รับรู้ความเป็นไปของโลก และพัฒนาความรู้ของตนเอง เช่น การอ่านข่าว นิตยสาร วารสาร เป็นต้น
๗) อ่านเพื่อแก้ปัญหา คือ การอ่านเพื่อต้องการคำตอบ หรือแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การอ่านพจนานุกรม เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับคำศัพท์ ความหมาย การสะกดการันต์ที่ถูกต้อง หรือการอ่านหนังสือแนะนำการเดินทาง แผนที่ เป็นต้น
วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)