วันนี้เรามีเทคนิคการตกแต่งหน้าแว็ป สำหรับมือใหม่ในการทำ E-learning จากแว็ป "เรียนรู้กับครูปู" ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ เราลองมาหัดทำกันนะคะ
การแทรกภาพ
<img src="ลิงค์รูปภาพ" width = "ความกว้าง" height = "ความสูง">
การปรับขนาดของตัวอักษร
<H1>ขนาดใหญ่สุด</H1>
<H2>ขนาดใหญ่</H2>
<H3>ขนาดกลาง</H3>
<H4>ขนาดปกติ</H4>
<H5>ขนาดเล็ก</H5>
<H6>ขนาดเล็กสุด<H6>
การปรับตกแต่งลักษณะของตัวอักษร
ลักษณะของตัวอักษร สามารถกำหนดได้ 3 แบบคือ
<B>ตัวหนา</B>
<I>ตัวเอียง</I>
<U>ขีดเส้นใต้ตัวอักษร</U>
<B>ข้อความ</B>
<I>ข้อความ</I>
<U>ข้อความ</U>
การปรับ ชนิด(Font) ของตัวอักษร
<FONT FACE="ชื่อFONT"> เช่น
<FONT FACE="Ms Sans Serif">
การเปลี่ยนสีของตัวอักษร
ใช้คำสั่ง <FONT COLOR=ชื่อสี> เช่น
<FONT COLOR=red>ข้อความ<FONT> หรือ
<FONT COLOR=green>ข้อความ</FONT>
ขอขอบคุณเทคนิคการแต่ง E-learning ดี ๆ จาก
http://kruputhanida.blogspot.com/2013_03_01_archive.html
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556
"...ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่งคือเป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง เช่นในทางวรรณคดีเป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี..."
(ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 29 กรกฎาคม 2505)
ความสำคัญของการอ่าน
การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด หรือสาระจากเรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ การอ่านจึงมีความสำคัญ ดังนี้
๑) การอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จำเป็นต้องอ่านหนังสือเพื่อการศึกษาหาความรู้ด้านต่าง ๆ
๒) การอ่านเป็นเครื่องมือช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปพัฒนางานของตนได้
๓) การอ่านเป็นเครื่องมือสืบทอดทางวัฒนธรรมของคนรุ่นต่อ ๆ ไป
๔) การอ่านเป็นวิธีการส่งเสริมให้คนมีความคิดอ่านและฉลาดรอบรู้ เพราะประสบการณ์ที่ได้จากการอ่านเมื่อเก็บสะสมเพิ่มพูนนานวันเข้า ก็จะทำให้เกิดความคิด เกิดสติปัญญา เป็นคนฉลาดรอบรู้ได้
๕) การอ่านเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นวิธีหนึ่งในการแสวงหาความสุขให้กับตนเองที่ง่ายที่สุด และได้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด
๖) การอ่านเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านจิตใจและบุคลิกภาพ เพราะเมื่ออ่านมากย่อมรู้มาก สามารถนำความรู้ไปใช่ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
๗) การอ่านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเมือง การปกครอง ศาสนา ประวัติศาสตร์ และสังคม
๘) การอ่านเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาระบบการสื่อสารและการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
๓. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ๘ ข้อ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่นักเรียนควรทราบ ควรระลึก และต้องหมั่นปฏิบัติอยู่เสมอ
มีดังนี้
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ตัวชี้วัด
๑.๑ เป็นผลเมืองที่ดีของชาติ
๑.๒ ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
๑.๓ ศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
๑.๔ เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
ตัวชี้วัด
๒.๑ ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อคนเองทั้งกาย และวาจา ใจ
๒.๒ ประพฤติตรงตามเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้ง กาย วาจา ใจ
๓. มีวินัย
ตัวชี้วัด
๓.๑ ประพฤติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม
๔. ใฝ่เรียนรู้
ตัวชี้วัด
๔.๑ ตั้งใจเพียงพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
๔.๒ แสวงหาความรู้รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สรุปเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัด
๕.๑ ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม
๕.๒ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
ตัวชี้วัด
๖.๑ ตั้งใจและรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
๖.๒ ทำงานด้วยเพียงพยายามและอดทนเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
๗. รักความเป็นไทย
ตัวชี้วัด
๗.๑ ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที
๗.๒ เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๗.๓ อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
ตัวชี้วัด
๘.๑ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
๘.๒ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม
ที่มา/อ้างอิง : กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๒). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ช้องนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia erecta (Benth.) Anderson.
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ : Bush , Clock Vine
ชื่อพื้นเมือง : ช้องนางเล็ก , ช้องนางใหญ่
ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขามากมายลำต้นสูงประมาณ 6 ฟุต
ใบ ใบจะคล้ายใบแก้ว ออกจะเป็นคู่ ๆ เรียงไปตามกิ่งของล้ำตน ลักษณะของใบมนปลายแหลม กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีเขียว โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวสด ก้านใบสีแดง
ดอก รูปทรงของดอกเป็นรูปแตร มีสีม่วงเข้มแต่พันธุ์สีขาวหายากกว่าพันธุ์สีม่วง มีอยู่ 5 กลีบตรงกลาง ดอกเป็นสีเหลืองดอกบานเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร
ฝัก/ผล เป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อแก่มีสีน้ำตาล แตกได้ ฤดูกาลออกดอก: ออกดอกตลอดปีการปลูก: ลงดินตัดแต่งเป็นพุ่ม หรือปลูกเป็นรั้วงามน่าชมการดูแลรักษา: ปลูกได้ทั้งกลางแจ้ง และที่ร่มรำไร ชอบดินร่วนซุยมีความชื้นตลอดเวลาการขยายพันธุ์: ตอนและปักชำการใช้ประโยชน์: เป็นไม้ประดับถิ่นกำเนิด: แอฟริกาตะวันตก
ตัวอย่างร้อยกรองที่วรรณคดีกล่าวถึง
ช้องนางช้างน้าวสาวหยุด ชาตบุษย์ขจรหงอนไก่
สี่กษัตริย์ชมเพลินจำเริญใจ จนไปถึงอาศรมพระนักพรต
รามเกียรติ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ดอกกระดังงา
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cananga odorata,Hook. F.&Th.
ชื่อสามัญ : Ilang - ilang, Perfume Tree
ชื่อวงศ์ : Annonaceae
กระดังงาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ออกดอกตลอดปี ชอบอยู่กลางแจ้ง ลำต้นมีปุ่มบ้าง มีกิ่งก้านห้อยย้อย เปลือกมีผิวค่อนข้างเรียบ สีเทาปนดำหรือน้ำตาล เปลือกลอกเป็นชั้น ๆ ได้ มีกลิ่นเหม็นเขียว เพราะมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ขึ้นเรียงสลับกันไปตามกิ่ง ใบมนรี ปลายแหลมโคนใบมน ริมใบเรียบเกลี้ยง ยาวประมาณ ๖ - ๗ นิ้ว ดอกมีสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โคนก้านใบ กลีบดอกเรียวยาวประมาณ ๔ นิ้ว กลีบบิด ดอกหนึ่งมีกลีบ ๖ กลีบ เรียงกันเป็น ๒ ชั้น ชั้นละ ๓ กลีบ กลีบชั้นนอกใหญ่และยาวกว่ากลีบชั้นใน ก้ามเกสรตัวผู้สั้นมาก เมื่อดอกโรยจะติดผล ดอกกระดังงาใช้อบทำน้ำเชื่อม หรือใช้ปรุงขนมหวาน การขยายพันธุ์ใช้วิธีเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ตัวอย่างคำประพันธ์
"พระสี่กรชมพรรณพฤกษา ประดู่ดอกดก ดาษดา
กระดังงาจำปาแกมกัน ...........................…"
วรรณคดี : "รามเกียรติ์"
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556
โคงสร้างหน่วยการเรียนรู้
โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
รายวิชา ภาษาไทย ๖ รหัสวิชา ท ๒๓๑๐๒ ภาคเรียนที่ ๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
*****************************************************
ที่
|
ชื่อหน่วย
การเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
|
สาระการเรียนรู้
|
เวลา
(ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
||
๑
|
พัฒนากระบวนการอ่าน
|
มาตรฐาน
ท
๑.๑
ตัวชี้วัด
ม
๓/๕,ม ๓/๖, ม ๓/๗ ,ม ๓/๘ ,ม ๓/๙ ,ม ๓/๑๐
|
-
การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง
-
การวิจารณ์
-
การประเมินค่า
-
การตีความ
-
การแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง
-
มารยาทการอ่าน
|
๑๒
|
๒๐
|
||
๒
|
สื่อสารผ่านการเขียน
|
มาตรฐาน
ท
๒.๑
ตัวชี้วัด ม ๓/๕ ,ม ๓/๖ ,ม ๓/๗ ,ม ๓/๘ ,ม ๓/๙ ,ม ๓/๑๐
มาตรฐาน
ท
๑.๑
ตัวชี้วัด
ม
๓/๕,ม ๓/๗
|
-
การเขียนจดหมายกิจธุระ
-
การเขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็น และโต้แย้ง
-
การอ่านวิเคราะห์
-
การอ่านวิจารณ์
-
การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิด หรือโต้แย้ง
-
การกรอกแบบสมัครงาน
-
การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าและโครงงาน (อาเซียน)
-
มารยาทการเขียน
|
๑๒
|
๒๐
|
โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ (ต่อ)
รายวิชา ภาษาไทย ๖ รหัสวิชา ท ๒๓๑๐๒ ภาคเรียนที่ ๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
*****************************************************
ที่
|
ชื่อหน่วย
การเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
|
สาระการเรียนรู้
|
เวลา
(ชั่วโมง)
|
น้ำหนักคะแนน
|
๓
|
เรียงร้อยถ้อยภาษา
|
มาตรฐาน
ท
๒.๑
ตัวชี้วัด ม ๓/๖ มาตรฐาน ท ๓.๑
ตัวชี้วัด
ม ๓/๔ ,ม ๓/๕ ,ม ๓/๖
|
-
การเขียนอธิบาย ชี้แจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง
-
การพูดในโอกาสต่าง ๆ
-
การพูดโน้มน้าว
-
มารยาทในการฟัง การดู และการพูด
|
๑๒
|
๒๐
|
สอบกลางภาคเรียนที่ ๒
|
๒๐
|
||||
๔
|
ภูมิปัญญาไวยากรณ์
|
มาตรฐาน
ท
๔.๑
ตัวชี้วัด ม ๓/๒,ม ๓/๓ ,ม ๓/๖
|
-
โครงสร้างประโยคซับซ้อน
-
ระดับภาษา
-
การแต่งบทร้อยกรอง ประเภทโคลงสี่สุภาพ
|
๑๒
|
๒๐
|
๕
|
พินิจอักษรวรรณคดี
|
มาตรฐาน
ท
๑.๑
ตัวชี้วัด
ม
๓/๑,ม ๓/๕, ม ๓/๖ ,ม ๓/๗มาตรฐาน ท ๕.๑
ตัวชี้วัด ม ๓/๒,ม ๓/๓
|
-
การอ่านวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินเรื่องที่อ่าน
-
การวิเคราะห์วิถีไทย และคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม
-
การสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน
|
๑๒
|
๒๐
|
สอบปลายภาคเรียนที่ ๒
|
๒๐
|
||||
รวม
|
๖๐
|
๑๐๐
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)